mother gamer สปอยหนังไทย
รีวิวหนังไทย หลังจากเรารอคอยการเข้าฉายของ Mother Gamer หรือ เกมเมอร์เกมแม่ กันมาตั้งแต่เดือนมีนาคมจนสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลายในที่สุดวันนี้ Mother Gamer หนังที่หอบโจทย์ยากอย่างการทำหนังวัยรุ่นเกี่ยวกับกีฬาอีสปอร์ตโดยมีเกม ROV เกมโมบา (MOBA – multiplayer online battle arena ) ยอดฮิตเป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ตัวละครที่พร้อมจะเติบโตผ่านวิวาทะทางความคิดระหว่างเด็กยุคใหม่กับผู้ใหญ่ยุคนี้ก็จะได้เข้าฉายเพื่อพิสูจน์ตัวเองในสนามโรงภาพยนตร์เสียที
เรื่องย่อ เกมเมอร์ เกมแม่
mother gamer สปอยหนังไทย กล่าวอย่างสั้น ๆ หนังเล่าเรื่องความขัดแย้งระหว่าง เบญจมาศ (พิยดา อัครเศรณี) ครูคณิตศาสตร์ที่มองว่ามือถือคือศัตรูต่อการเรียน กับ โอม (ต้นหน ตันติเวชกุล) ลูกชายนักกีฬาอีสปอร์ตที่เหตุเกิดจากฝ่ายแรกไปขัดขวางความฝันของลูกชาย และเพื่อให้หนทางในสายกีฬาอีสปอร์ตต้องดับลง เบญจมาศจึงก่อปาร์ตี้ตั้งทีมอีสปอร์ตชื่อ Ohm Gaga ร่วมกับ กอบศักดิ์ (ลภัส งามเชวง) นักเรียนหลังห้องจอมเก๋าในฐานะอดีตสมาชิกของทีม Higher ที่โอมสังกัดอยู่เพื่อหวังโค่นทีมของลูกชายโดยไม่รู้เลยว่าการกระทำของเธอกำลังให้บทเรียนสำคัญในฐานะแม่และครู
เสือ ยรรยง คุรุอังกูร ยังคงทำหนังวัยรุ่นในภาษาที่เข้าใจวัยรุ่นเจนนี้อย่างแท้จริง โดยในเกมเมอร์เกมแม่ก็มี ROV ที่กำลังมาทดสอบความสัมพันธ์ของแม่กับลูกชายวัยรุ่นยุคที่การเล่นเกมกลายเป็นกีฬาที่ทำเงินได้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เบญจมาศแม้จะเป็นแม่ที่ยังไม่ได้ชราในแง่สังขารแต่ต้องยอมรับว่าสังคมที่เด็กกล้าพูดกล้าทำและความรู้ความสามารถในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการเล่นเกมที่กลายเป็นอาชีพก็กลับผลักไสเธอให้กลายเป็นคนตกยุคอย่างช่วยไม่ได้
ยิ่งเรามาพิจารณาข้อมูลที่หนังให้เราเกี่ยวกับตัวเบญจมาศต้้งแต่ต้นเรื่องที่หนังแสดงให้เห็นว่าเธอเข้มงวดกับลูกเพียงใดในยุคที่การศึกษานอกจากคะแนนสอบยังมีคะแนนนอกระบบที่วัดตามค่าเงินบาทที่ผู้ปกครองจะยอมแลกกับโอกาสของลูกแล้วก็ยิ่งทำให้เห็นว่าในเกมที่อำนาจอยู่ที่ผู้ใหญ่เธอสอนโอมให้เล่นตามกติกาที่ไม่แฟร์กับเขามาทั้งชีวิตเพื่อหวังให้โอมเดินในเส้นทางสู่ความสำเร็จตามอุดมคติการศึกษาสร้างอนาคต
แต่แล้วปัจจุบันในเวลาของโอมก็กลายเป็นอนาคตที่เบญจมาศไม่เข้าใจทันทีเมื่อกีฬาอีสปอร์ตได้กลายเป็นเส้นทางที่ลูกเลือกเป๋็นอาชีพ โดยคนเป็นแม่ในฐานะครูในระบบการศึกษาไทยได้แต่ต่อต้านการเล่นเกมของนักเรียนจนถึงขั้นออกแคมเปญห้องเรียนปลอดมือถือเพื่อหวังอัปเงินเดือนด้วยผลงานเสริมหลักสูตรในเกมที่ผู้ชี้ถูกผิดคือผู้มีอำนาจในองค์กรนั้น ๆ แต่สำหรับในเกมที่เธอหวังจะชนะโอม เบญจมาศกลับเลือกทางลัดด้วย “ข้อตกลงแบบไทย ๆ ” กับกอบศักดิ์ให้ตั้งทีมกีฬาอีสปอร์ตแลกกับการช่วยให้จบ ม.6 หลังถูกยื่นคำขาดจากทีม Higher ให้จ่ายค่าเสียหายหลักแสนหากต้องการให้โอมออกจากทีม ดูหนังออนไลน์,ดูหนังฟรี
ดังนั้นเมื่อกติกาของโลกผู้ใหญ่ไม่อาจเปลี่ยนใจโอมได้ เบญจมาศจึงจำใจต้องลงสนามในเกมของเด็กยุคนี้ ซึ่ง ณ. จุดนี้เองที่หนังเริ่มให้เบญจมาศกลายเป็นตัวแทนผู้ใหญ่ที่หนังพาคนดูในฝั่งคนไม่เล่นเกมได้เกาะไปทำความเข้าใจกับทั้งเกม ROV ที่มีศัพท์แสงสุดบรรเจิดมากมายและพาไปรู้จักกับกีฬาอีสปอร์ตว่ามันมีการแข่งขันจริงจังแค่ไหน ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกของผู้ชมในวงกว้างได้อย่างชาญฉลาดยิ่งเพราะผู้กำกับใช้บริบทในหนังมาบอกเล่ามันโดยอิงเกม ROV ตั้งแต่ฉากกอบ
mother gamer สปอยหนังไทย
ศักดิ์เล่นเกมในห้องเรียนวิชาสังคมไปจนถึงบทเรียน ROV 101 ที่เบญจมาศได้กลายสถานะเป๋็นนักเรียนบ้าง
กล่าวมาถึงตรงนี้คงชัดเจนแล้วว่าตัวละครเบญจมาศคือตัวแบกหนังทั้งเรื่องอย่างแท้จริงและถือเป็นโชคดีของผู้กำกับ (และคนดู) ที่มันได้ อ้อม พิยดา อัครเศรณี นางเอกยุค 90s ที่มารับบทแม่และครูอย่างเบญจมาศ เพราะเธอสามารถทำให้คนดูเชื่อว่าทุกการกระทำที่ผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นการไม่ยอมเซ็นเอกสารให้โอมไปเข้าทีม Higher หรือการหลอกใช้เด็กตั้งทีมมาโค่นทีมลูกชายล้วนนำเสนอด้านที่ไม่สมบูรณ์แบบของตัวละครที่ดูมีเลือดเนื้อจิตใจจนคนดูสัมผัสได้
และทีละน้อยนอกจากดรามาของแม่ที่การตัดสินใจไม่ได้ถูกต้อง 100% หนังยังพาให้เบญจมาศค่อยๆ เข้าสู่โลกแห่ง ROV ด้วยอุปสรรคในการทำทีมที่มีทั้งการซื้อตัวผู้เล่นหรือแม้แต่ความกากในการเล่นเกมของเธอเองก็เริ่มทำให้เริ่มตาสว่างว่าแม้แต่คนเป็นครูก็ไม่ได้เก่งไปเสียทุกเรื่อง เชื่อว่าคนดูจะต้องลุ้นระทึกและหลงรักอ้อม พิยดากับซีนแอบเล่น ROV ในห้องส้วมบนรถโดยสารคณะครูที่หนังทำออกมาน่ารักทีเดียว
และในขณะเดียวกันแม้หนังจะมีแกนกลางที่ความขัดแย้งระหว่างแม่ลูกแต่หนังก็สร้างตัวละครอย่างกอบศักดิ์ที่เป็นตัวแทนนักเรียนหลังห้องสุดเก๋าที่เกรดของวิชาในระบบการศึกษาอาจทำให้เขาถูกมองว่าเป็นคนโง่แต่ในโลกของเกมกอบศักดิ์คือฮีโร แต่ลึก ๆ แล้วมันก็สะท้อนภาพของวัยรุ่นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อได้เห็นภาพเพราะแม้เกรดในสมุดพกจะต่ำเตี้ยแค่ไหนการที่กอบศักดิ์มาเจอครูเบญจมาศก็นับว่าเป็นโชคดีของทั้งคู่เพราะในขณะที่กอบศักดิ์ขาดผู้ใหญ่มามองเห็นคุณค่าของเขาในฐานะเกมเมอร์ ด้านครูเบญจมาศเองก็ขาดคนช่วยลดช่องว่างระหว่างใจระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กอยู่ด้วยเหมือนกัน
ดังนั้นภาพที่ครูเบญจมาศต้องถูกบังคับให้มาเล่น ROV ร่วมกับบรรดาลูกทีม Ohm Gaga เลยแปรเปลี่ยนจากการพยายามเอาชนะลูกชายมาเป็นการเปิดใจยอมรับเส้นทางใหม่ ๆ ของเยาวชนชาวเกมเมอร์ และ ROV ยังสามารถผสานความรู้เดิมอย่างคณิตศาสตร์มาปรับใช้กับการวางแผนได้ดีทีเดียว และแม้ว่าหนังเรื่องเดียวจะไม่ได้ทำให้ภาพของเด็กติดเกมดีขึ้นแต่เชื่อว่าตัวหนังมันได้เสนอทางเลือกของการเล่นเกมอย่างฉลาดเอาไว้แล้วเหมือนการใช้ชีวิตที่ฉลาดที่ทั้งกอบศักดิ์และครูเบญจมาศได้เรียนรู้มันร่วมกัน เกมเมอร์เกมแม่เต็มเรื่องพากย์ไทย
แต่กระนั้นบทหนังเองก็ยอมแลกดรามาและความสัมพันธ์แม่ลูกที่ค่อย ๆ หายไปหลังโอมกับเบญจมาศเริ่มมีปัญหากันเพื่อเทเวลาแทบทั้งหมดไปกับการเรียนรู้ของเบญจมาศในโลกของ ROV ซึ่งในด้านหนึ่งมันก็ทำให้พัฒนาการด้านความสัมพันธ์แม่ลูกในตอนท้ายไม่หนักแน่นเท่าที่ึควรแต่มันกลับส่งผลต่อฉากการฝึกเล่น ROVแต่ละฉากที่ผู้กำกับดีไซน์ช่วยให้คนดูเข้าใจตัวเกมและวงการอีสปอร์ตในเบื้องต้นได้ดีมากเรียกได้ยอมเจ็บกับการสูญเสียการเล่าดรามาไปกับสีสันอันฉูดฉาดของวงการเกมแทน แม้จะทำให้หนังไม่ลงตัวเท่าที่ควรก็ตาม
ความต่างระหว่างคนสองยุค mother gamer
ส่วนเนื้อเรื่องเรียกว่าค่อนข้างเดินเป็นเส้นตรงตามสูตรสำเร็จ คาดเดาตอนจบได้ไม่ยาก มีการจิกกัดสังคมไม่ว่าจะเป็น ผู้ปกครอง-เด็ก, ระบบการศึกษาจนไปถึงการเล่นเกมเอง มีหยอดมุกตลกมาเป็นช่วงๆให้คนดูได้ผ่อนคลาย บทค่อนให้คะแนนกลางๆมีหลายประเด็นที่หนังปูไว้แต่ไม่ขยี้ต่อให้สุด ตัวหนังไม่ได้เล่าถึง Background ของหลายตัวละครหลักเท่าที่ควร นอกจากนั้นนักแสดงหลายคนน่าจะมีผลสำคัญต่อเนื้อเรื่องหรือบางประเด็นกลับไม่เล่นต่อซะงั้น หายไปดื้อๆ
สิ่งที่โดดเด่นคือเรื่องของโปรดักชั่นที่ใส่ Visual Effect ที่จัดเต็มแสงสีเสียง เหมือนเรากำลังเล่นเกมอยู่ มีการทดลองมุมกล้องแปลก ๆ ทำให้ดูตื่นตาตื่นใจ ซีนการแข่งขันเกมก็ทำออกมาสนุกทำให้เราลุ้น เอาใจช่วยตามไปด้วย ที่สำคัญยังใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างฉากดวลกันตัวต่อตัวนั้นท่าทางการสู้นั้นเอามาจากตัวละครในเกมจริง ๆเลยค่ะ เกมเมอร์เกมแม่ pantip
mother gamer สปอยหนังไทย
หนังนำเสนอความแตกต่างระหว่างคนสองยุคระหว่างครูเบญและโอม ซึ่งครูเบญก็เหมือนตัวแทนของผู้ใหญ่ที่เติบโตในสภาพสังคมแบบเก่า ยึดติดว่าการเรียนสูง ๆ เรียนให้เก่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยการันตีความสำเร็จในอนาคต มีความเจ้ากี้เจ้าการกำหนดชีวิตลูกให้เป็นอย่างที่ตัวเองเป็นโดยที่ไม่เคยถามเลยว่าลูกของเธอต้องการอะไร เธอมอง “เด็กเล่นเกม = เด็กติดเกม” ทั้งที่ไม่เคยลงไปสัมผัสด้วยตัวเองให้รู้ว่าเกมดีไม่ดียังไงน่าเสียดายที่หนังน่าจะเพิ่มปมของตัวละครนี้ว่าเคยเจออะไรมาบ้างถึงให้ให้เธอเป็นแบบนี้
ฝั่งของโอมถือเป็นตัวแทนของเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตในยุคที่เทคโนโลยีเฟื่องฟู มีนวัตกรรมและอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนนั้นก็คือ e-Sport เอาเกมแข่งเป็นกีฬา มีการฝึกซ้อม วางแผน เล่นเป็นทีม กลายเป็น Entertainment รูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ยิ่งนักกีฬาที่มีชื่อเสียงนั้นทำรายได้เป็นหลักแสนหลักล้านต่อเดือนก็มี
ตัวโอมถือเป็นเด็กที่โชคดีรู้ตัวว่าชอบอะไร โดยเฉพาะเรื่องพรสวรรค์ด้านการเล่นเกม แต่เขาเองก็พยายามแบกความหวังของแม่ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดทั้งเรื่องของการเรียนและการเล่นเกม แต่สุดท้ายกลับเป็น ผู้ใหญ่เองที่ไม่เคยถามความต้องการของลูกเลย ว่าจริงๆแล้วลูกเธอชอบไม่ชอบอะไร จนทำเกิดการแตกหักกับแม่ขึ้นมา
ฝั่งของทีม “Ohmgaga” เรียกว่าเป็นตัวแทนของเด็กเล่นเกมที่โตมาจากสังคมที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นได้จริงๆ ถ้าเพิ่มแรงจูงใจของแต่ละคนในการเข้าร่วมทีมน่าจะทำให้ดูสนุกกว่านี้ เพราะการรวมตัวเหมือนง่ายเกินไป อยากรวมก็รวมเหมือนเพื่อนชวนเล่นเกมก็มา
ในส่วนของไคลแมกซ์นั้นถ้าหากมีการสร้างปมของตัวละครแต่ละตัวให้ลึกขึ้นน่าจะทำให้ลุ้นได้มากกว่านี้
โดยรวมแล้ว Mother Gamer แม้จะยังไม่ได้เป็นหนังที่สมบูรณ์ไปทุกด้าน แต่มาตรฐานที่ทำออกมาบอกได้เลยว่าหนังไทยไม่แพ้ใคร ยิ่งถ้าเล่น ROV อยู่แล้วยิ่งทำให้ดูหนังสนุกขึ้นอีก หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่อยากรู้ว่าเด็กเล่นเกมสมัยนี้เป็นยังไงก็
สรุปหนัง เกมเมอร์ เกมแม่
mother gamer สปอยหนังไทย ทิ้งท้ายขอพูดถึงเหล่าบรรดานักแสดงวัยรุ่นกันบ้าง เติร์ด ลภัส งามเชวง มีเสน่ห์ในแบบแบดบอยมาก ๆ ในบทของกอบศักดิ์ดูแล้วเชื่อได้เลยว่าจะเป็นคนพาเบญจมาศสู่โลกของเกมเมอร์เหมือนมอร์เฟียสฉบับกวน ๆ ที่จะพานีโอตื่นจาก The Matrix ยังไงยังงั้น ส่วน ต้นหน ตันติเวชกุล นี่เสียดายมากเพราะดรามjาช่วงท้ายของหนังเขาทำได้ดีมากแต่ด้วยช่วงเวลาที่หนังให้เขาถือว่าน้อยเกินไปจริง ๆ ส่วน วี วีรยา จาง ในบทมะปรางแม้จะให้ความสดใสกับหนังแต่บทของเธอแทบไม่มีผลอะไรกับเรื่องนอกจากเพิ่มซีนโรแมนติกให้กับกอบศักดิ์
โดยภาพรวมแล้วขอสรุปว่า เกมเมอร์เกมแม่ อาจยังไม่ใช่หนังที่ลงตัวนักในส่วนของบทภาพยนตร์แต่งานดีไซน์แต่ละซีนของหนังน่าสนใจและน่าตื่นตาตื่นใจทีเดียวเพื่อให้คนไม่เล่น ROV อย่างผมเข้าใจในกติกาของตัวเกมและสนุกไปกับฉากแข่งขันในหนัง และยังมีการแสดงที่เชื่อมือได้ทั้งจาก อ้อม พิยดา อัครเศรณี กับ เติร์ด ลภัส งามเชวง มาทำให้หนังดูสนุกและน่าประทับใจจนอยากให้มีโอกาสที่ครอบครัวที่มีลูกเล่นเกมได้มาดูด้วยกันเพราะหนังนำเสนอวงการอีสปอร์ตได้เข้าใจง่ายและไม่มองผู้ใหญ่ในแง่ร้ายเกินไปเป็นการนำเสนอที่น่าจะกระชับพื้นที่ “ช่องว่างระหว่างใจ” ของผู้ปกครองและลูก ๆ เหล่าเกมเมอร์ได้ดีทีเดียว
เรียกว่า “Mother Gamer เกมเมอร์เกมแม่” เป็นอีกหนึ่งหนังไทยที่มีความกล้าที่จะฉีกแนวเดิมๆ ด้วยการหยิบเอาพล็อตเรื่องของ e-Sport มานำเสนอได้อย่างน่าสนใจ
เมื่อคำสั่งห้ามของแม่ใช้ไม่ได้ผล เบญจมาศจึงต้องหาทางสกัดกั้นไม่ให้โอมก้าวไปสู่ชัยชนะ ด้วยการยื่นข้อเสนอให้ “กอบศักดิ์” (เติร์ด ลภัส) เด็กหลังห้องอดีตโปรเพลเยอร์ของ Higher มาช่วยตั้งทีมอีสปอร์ตหน้าใหม่ “Ohmgaga” เพื่อแลกกับที่เบญจมาศจะช่วยให้กอบศักดิ์เรียนจบ กอบศักดิ์เลยพาเหล่าเกมเมอร์ตัวจี๊ดมาร่วมทีม Ohmgaga ทั้ง “มะปราง” (วี วีรยา) สาวเปรี้ยวสุดเท่, “ไกด์” (บอส ธนบัตร) นักวางแผนฝีมือฉกาจ, “แบงค์” (นนท์ ศุภวัจน์) สายเปย์ตัวเป้ง และ “แม็ก” (เตชินท์ ณัฐชนน) จอมโวยวายจากร้านเกม
แต่สิ่งที่เบญจมาศไม่ได้คาดคิดเอาไว้ก็คือ เธอต้องลงสนามในฐานะนักกีฬาของทีม เคียงข้างกับกอบศักดิ์ผู้พยายามพิสูจน์ตัวเอง พร้อมเผชิญหน้ากับโอมลูกชายที่อยากขีดเส้นทางชีวิตด้วยตัวเอง
บนเส้นทางแห่งการแข่งขันเกม RoV แบตเทิลครั้งนี้ “เกมเมอร์” หรือ “เกมแม่” ใครกันแน่จะเป็นผู้ชนะ เกม เม อ ร์ เกมแม่ เต็ม เรื่อง ฟรี
ไม่ต้องรู้เรื่องเกมก็ดูหนังได้
คำถามที่หลายคนอยากรู้ก็คือ ไม่ได้เล่นเกมนี้จะดูหนังรู้เรื่องมั้ย ตอบเลยค่ะ ดูรู้เรื่องและสนุกไปกับหนังได้เพลิน ๆ เลยค่ะ เพราะในหนังเองจะมีการค่อย ๆ ปูพื้นมาให้บ้าง ส่วนใครที่เป็นแฟนเกม ROV อยู่แล้วน่าจะทำให้อินกับเนื้อเรื่องไม่ยาก รวมถึงยังมีคนในวงการ e-Sport ที่คุ้นตามาร่วมแจมหลายคน ไม่ว่าจะเป็น นักกีฬา e-Sport ตัวจริง รวมถึงนักพากย์เกม