รีวิวหนังไทย 15 ค่ำ เดือน 11

รีวิวหนังไทย 15 ค่ำ เดือน 11 ความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้กำลังถูกสั่นคลอนจากโลกวิทยาศาสตร์ หนังเรื่องนี้ได้หยิบยกเรื่องราวของ บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์สำคัญที่ชาวบ้านกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงนั้นให้ความศรัทธา โดยหนังเรื่องนี้ไม่ได้บอกเล่าวิถีชีวิตชาวบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ยังตั้งคำถามความขัดแย้งระหว่างความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้จนอาจจะกลายเป็นความงมงาย ผ่านตัวละครหนุ่มรุ่นใหม่ที่ถูกความจริงทางวิทยาศาสตร์สั่นคลอนความเชื่อ อีกทั้งหนังยังสามารถผูกปมและดำเนินเรื่องไปในทางที่สร้างความอิ่มเอมใจให้ผู้ชมด้วยเช่นกันค่ะ

หนังไม่ได้เล่าเรื่องผ่านมุมมองตัวละครใดหนึ่ง แต่ใช้ระยะเวลาที่เข้าใกล้ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ร้อยเรียงเหตุการณ์ต่างๆของ ๓ – ๔ ตัวละครหลัก

ความจัดจ้านของการตัดต่อ คือจังหวะที่มีความรวดเร็วฉับไว โดยเฉพาะช่วงอารัมภบท ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของปีที่แล้ว สร้างความตื่นตระการตาให้ผู้ชมอย่างมาก

แต่ที่ผมชื่นชอบสุดของการตัดต่อ คือ Dynamic Cut ขณะอธิบายทฤษฎีของหมอนรติ และดร.สุรพล ที่จะมีการแทรกร้านตัดผม (แคะขี้หู น้อมรับฟัง) ลุกขึ้นมาชี้นิ้วอธิบายเปรียบเทียบกับอ่างปลา และอีกครั้งคือแม่ค้าขายผลไม้ หวังว่าคนไม่จบปริญญาจะสามารถฟังรู้เรื่องเข้าใจได้

เพลงประกอบโดย อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ นักแต่งเพลงยอดฝีมือชาวไทย กรรมการผู้จัดการ/Music Direction บริษัท ไวด์แอทฮาร์ท จำกัด, ผลงานเด่น อาทิ ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓), สตรีเหล็ก (พ.ศ. ๒๕๔๓), มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. ๒๕๔๔), แฟนฉัน (พ.ศ. ๒๕๔๖) ฯ

งานเพลงมีลักษณะช่วยแต่งเติมเสริมบรรยากาศ สร้างสัมผัสทางอารมณ์ให้กับช่วงขณะนั้นๆ มีความหลากหลายตั้งแต่ สนุกสนานครื้นเครง (ตอนวันงาน), ลึกลับพิศวง, ขนลุกน่าอัศจรรย์ใจ, อดีตที่แสนงดงาม, และอนาคตแห่งความหวัง

ไคลน์แม็กซ์นาทีสุดท้ายของหนัง คือช่วงเวลาทรงพลังที่สุดของบทเพลง ส่วนผสมระหว่างดนตรีไทยกับสากล แต่ที่แย่งซีนไปเต็มๆคือเสียงซอ มอบสัมผัสอันลุ่มลึก สั่นสะท้าน น่าอัศจรรย์ใจเสียเหลือเกิน, นัยยะของการผสมผสานเครื่องดนตรีไทย-สากล มีความชัดเจนมากๆถึงจุดยืนของหนัง อยู่กึ่งกลางระหว่างสองสิ่ง เว็บดูหนัง

15 ค่ำ เดือน 11 (2002) | RAREMEAT BLOG

ศรัทธา ฤา เหตุผล แต่งเนื้อร้องโดย เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์, ทำนองโดย นิมิต พิพิธกุล, ขับร้องโดย สุภัทรา โกราษฎร์ (อินทรภักดี)

คนเรายุคสมัยนี้มักถูกบีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างซ้าย-ขวา ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ศาสนา-วิทยาศาสตร์ ขั้วการเมืองหนึ่งใดเท่านั้น ซึ่งเมื่อตัดสินใจไปแล้วก็จะถูกกีดกันจากอีกฝ่ายโดยสิ้นเชิง หรือพอเปลี่ยนข้างมักถูกกล่าวหาว่ากลับกลอกปอกลอก ‘นกสองหัว’

ลักษณะเช่นนั้นมักสร้างความอึดอัด คับข้อง ทุกข์ทรมานใจให้กับบุคคลผู้ไม่สามารถครุ่นคิดหาหนทางออก เพราะหนึ่งก็สำคัญจำเป็นแต่สองนั้นถูกต้องสมควร เฉกเช่นนี้แล้วจะให้ทำอย่างไรละ!

พุทธศาสนา ได้ให้คำแนะนำสอนสั่งไว้อย่างถูกต้องดีงามแล้ว คือการปลดปล่อยวางความครุ่นคิดยึดติด เมื่อซ้ายไม่ได้ ขวาก็ไม่ได้ เฉกเช่นนั้นจงเลือกทางสายกลาง มิต้องไปสนคำหมูหมากาไก่ ‘เอ็งไม่ได้เลือกฝั่งข้า ก็ไม่ใช่พวกข้า’ พวกที่มีโลกทัศนคติเช่นนั้น ย่อมมิใช่คนดีอะไร สูญเสียพรรคเพื่อนแบบนั้นไปบ้างก็ได้ จักทำจิตใจเราสงบผ่อนคลายลง

ครานี้มันจะมีประเด็นอย่าง ถ้าผู้มีพระคุณล้นฟ้าอย่างบิดา/มารดา กระทำในสิ่งผิดชั่วร้าย แล้วพยายามโน้มน้าวชักจูงให้คล้อยตามทั้งๆที่จิตใจต่อต้าน ถ้าเราบอกปัดปฏิเสธไม่ยินยอม เฉกเช่นนั้นจักถือว่าคือผู้ ‘อกตัญญู’ หรือไม่? ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความหมายของ กตัญญู-กตเวที เสียก่อน

กตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ เป็นคุณธรรมคู่กับกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น, บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง เมื่อรู้พระคุณแล้วก็ตอบแทนพระคุณท่าน มีความคิดเช่นนี้อยู่ภายในใจอย่างต่อเนื่อง และแสวงหาโอกาสทำหน้าที่ตอบแทนบุญคุณท่านอย่างไม่รู้ลืม หนังฟรี

ปิดตำนาน นพดล ดวงพร ผู้รับบทหลวงพ่อในหนัง 15 ค่ำเดือน 11 เจ้าของวลี  เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด

รีวิวหนังไทย 15 ค่ำ เดือน 11

เฉกเช่นนั้นแล้วความหมายของการ อกตัญญู แท้จริงนั้นไม่ใช่ที่การกระทำแต่คือความรู้คุณ ถ้าจิตใจเรายังคงสำนึกในทุกสิ่งที่เคยได้รับมา แต่ขณะนั้นมิสามารถตอบแทน หรือการกระทำนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเลวทราม ไม่ถูกต้องเหมาะสม จึงไม่ถือว่าเกิดความ อกตัญญู ขึ้นภายในจิตใจ

คนอีกประเภทหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อย คือพวกชอบ ‘ทวงหนี้บุญคุณ’ นี่คือคำพูดแสดงความเห็นแก่ตัวมากๆ พยายามครอบงำ เรียกร้องอ้างสิทธิ ตักตวงผลประโยชน์คืนกลับสู่ตนเอง บุคคลประเภทนี้มักหมดสิ้นคุณความดีงามตั้งแต่เอ่ยปากขอแล้ว

“บุญคุณที่เขามีต่อเรา มันหมดสิ้นไปตั้งแต่เขาทวงบุญคุณจากเราแล้ว” หนังใหม่

เรื่องของความกตัญญูกตเวที เป็นสิ่งเราไม่ควรคาดหวัง พูดบอก เรียกร้อง หรือทักทวงถาม ปล่อยให้เป็นเรื่องสามัญสำนึก/บุญกรรม คือถ้าเขาสามารถตระหนักรับรู้ครุ่นคิดได้ ก็จักแสดงออก ตอบแทนให้เห็นเอง นั่นถือว่าได้บุญบารมีทั้งขึ้นทั้งล่อง (ทั้งผู้มีพระคุณและตอบแทนคุณ)

ความที่สังคมไทยเรามักเสี้ยมสอนลูกหลานให้รู้จักการ ‘กตัญญูกตเวที’ แต่ก็มักมีความเข้าใจผิดๆ เรียกร้อง เอาเปรียบ บีบบังคับ นั่นจักสร้างความอึดอัด คับข้อง รำคาญใจ กลายเป็นหมกมุ่นเครียดคลั่ง ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ชีวิตจมปลักไม่ก้าวหน้า แทนที่จะได้บุญกลับกลายเป็นเวรกรรมต่อกันเสียอีกนะ

คาน ชื่อตัวละครที่ภาษาไทยกลางหมายถึง

แซว: ผมนึกถึงสำนวน ‘ขึ้นคาน’ มากกว่านะ

จากความหมายของคำว่าคาน มีนัยยะสะท้อนถึงตัวละคร บุคคลผู้อยู่กึ่งกลาง แบกรับทุกสิ่งอย่างไว้จนไม่สามารถปลดปล่อยวางอะไรๆลงได้ จนกว่าจะมีบางสิ่งอย่างเกิดขึ้นถึงค่อยได้รับอิสรภาพของตนเอง

๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เพียงสะท้อนวิถีชีวิตชาวไทย ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิม หรือการก้าวมาถึงของโลกทัศน์ยุคใหม่ วิทยาศาสตร์ทันสมัย เทคโนโลยีโลกาภิวัฒน์ แต่ยังคือการเรียนรู้ที่จะปรับตัวเอง ด้วยวิธีอ้างอิงจากหลักคำสอนพุทธศาสนา นั่นคือวางตัวเป็นกลาง ไม่สุดโต่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง มีประโยชน์อะไรที่จะพยายามค้นหาคำตอบ เพราะสุดท้ายจนวันตายก็อาจไม่ได้รับคืนสนอง หายใจเข้าลึกๆแล้วผ่อนคลายออกมา แค่นั้นแหละคือความสงบกายใจ สุขจริงแท้ชั่วนิรันดร์

หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่ได้ยินว่าทำเงินไปประมาณ ๕๕ ล้านบาท ถือว่าสูงใช้ได้ในยุคหลังผ่านพ้นวิกฤษต้มยำกุ้ง/ฟองสบู่แตก พ.ศ. ๒๕๔๐ เว็บดูหนังฟรี

ปิดตำนาน นพดล ดวงพร ผู้รับบทหลวงพ่อในหนัง 15 ค่ำเดือน 11 เจ้าของวลี  เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด

เข้าชิง ๑๑ สาขา คว้ามา ๙ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖

ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้ ประทับใจมากๆกับการแสดงของ อนุชิต สพันธุ์พงษ์, ไดเรคชั่นของ จิระ มะลิกุล, ความบ้าระห่ำตัดต่อ และเพลงประกอบช่วงท้ายทรงพลังมากๆ หนังไทยน้ำดี … แต่ก็อยากให้ออกมาดีกว่านี้อีกนิด

ผมค่อนข้างมีปัญหากับการนำเสนอพฤติกรรมหลุดๆของบางตัวละคร (โดยเฉพาะ หมอ กับ ด็อกเตอร์) ถึงพอดูออกว่าต้องการแฝงนัยยะสุดโต่งบางอย่าง แต่มันทำให้ภาพรวมของหนังดูเหมือน ‘น็อตหลุด’ เต็มไปด้วยความบ้าๆบอๆ ทีจริง-ทีเล่น หาความสมดุลกึ่งกลางไม่ได้ซะอย่างงั้น

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” มันถึงเวลาสักพักใหญ่แล้วที่คนไทยควรเปิดโลกทัศน์ตนเอง ออกจากกะลาที่ครอบหัวไว้ นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ล้มล้างศรัทธาความเชื่อหรือพุทธศาสนา แต่ทำให้คุณครุ่นคิดถึงอะไรคือความจริง-เท็จ ถูกต้อง-เหมาะสม เข้าใจกาลามสูตร ๑๐ และปล่อยวางจากความยึดติด ดูหนังฟรี

15 ค่ำ เดือน 11 ?? หนังเรื่องนี้ฉายเมื่อวันนั้น (Movie From That Day)

ก่อนจะเข้ารีวิว ผมขอชื่นชมนักแสดงทุกคนในเรื่องนี้รวมถึงคุณลุง “นพดล ดวงพร” มากๆ เลยนะครับ นี่คือผลงานที่ผมชอบและประทับใจมากเรื่องหนึ่ง เป็นหนังที่ผมชอบเปิดดูอยู่บ้านตอนกลับมาจากโรงเรียนกับครอบครัวผม และเป็นหนังที่ผมควานหาแผ่นมาทั่วปฐพีเพื่อแผ่นดีวีดีเรื่องนี้ และผมขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของคุณลุงด้วยนะครับ ยอมรับว่าตอนได้ยินข่าวครั้งแรก ผมแทบน้ำตาร่วง เพราะผมค่อนข้างเห็นลุงเป็นไอดอลผมตอนเด็กเลย ลุงสอนผมปีนบ้าน สอนผมให้เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ “ในฐานะที่ข้อยเป็นเด็กน้อยผู้นึง ที่ใหญ่มากับหนังเรื่องนี้ เปิดเบิ่งอยู่สู่มื้อสู่เว็น เปิดจนแผ่นลาย เปิดจนจื่อคู่คำเว้าที่อยู่ในหนังได้ คุณลุงเป็นส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้ ถ้าบ่มีคุณลุง ข่อยบ่มีทางมักหนังเรื่องนี้หลายส่ำนี่แน่นอน หลับให้สบายเด้อครับคุณลุง”
หนังยอดเยี่ยมครับ เป็นหนังไทยที่ผมเปิดดูบ่อยที่สุด เพราะมันไม่รู้สึกเหมือนดูหนัง แต่เป็นเหมือนการดูชีวิตของชาวอีสานที่สมจริง บทพูดในหนังเป็นธรรมชาติมาก และมีข้อคิดให้คิดตามค่อนข้างเยอะ นักแสดงเล่นได้ยอดเยี่ยมมาก ดูเป็นธรรมชาติ และดูเหมือนเป็นคนชนบทจริงๆ และที่ผมประทับใจมากๆ ในหนังคือ “การที่เล่นกับความเชื่อ” หนังไม่ได้มีการสรุปว่าสิ่งที่หนังเสนอนั้นจริงๆ แล้วมันคือความจริงหรือว่าอย่างอื่น แต่หนังแค่นำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อของคนพื้นเมืองหนองคาย หนังไม่ได้ลบหลู่หรือว่าอยู่ข้างไหนทั้งสิ้น แต่ว่าเป็นตัวสอนใจเราว่าแท้จริงแล้ว มันขึ้นอยู่กับทัศนคติและความเชื่อทั้งนั้น บนโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงตรง เราต่างหากที่เป็นคนกำหนดว่ามันคืออะไร
ถือซะว่ารีวิวนี้ผมเขียนมาเพื่อส่งคุณลุงไปสู่สุขติก็แล้วกันนะครับ ถือว่าเป็นหนังที่ผมอยากให้ทุกคนได้ดูจริงๆ หากใครที่หาแผ่นไม่เจอ สามารถดูได้ใน True ID นะครับ คุ้มค่ากับเงินและเวลาที่เสียไปแน่นอน ดูหนังออนไลน์

คะแนนเฉลี่ยรวม : 10/10
เรตหนัง : หนังยอดเยี่ยมที่ไม่ควรพลาด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *