รีวิวหนังไทย ร่างทรง

รีวิวหนังไทย ร่างทรง มาถึงหนังสยองขวัญของไทยที่กลายเป็นว่าเพื่อนบ้านที่อื่นๆ ได้มีโอกาสได้พิสูจน์ก่อนชาติที่เป็นเจ้าของเรื่องราว อย่าง “ร่างทรง” (The Medium) ที่เป็นการจับมือร่วมกันสร้างระหว่าง จีดีเอช กับ SHOWBOX ของเกาหลีใต้ พร้อมกับได้ทีมงานและทีมทำงานที่ผสมผสานทั้งไทยและเกาหลีในการสร้างสรรค์ผลงานหลอน ด้วยการหยิบเอาประเด็นความเชื่อท้องถิ่นมาปรุงแต่งให้กลายเป็นความสะพรึงชวนขนลุก แต่ผลลัพธ์ของหนังที่ออกมา…จะเป็นความสะพรึงแบบที่เขาร่ำลือกันจริงหรือเปล่านะ?

ร่างทรง ว่าด้วยเรื่องราวของความเชื่อทางไสยศาสตร์ท้องถิ่นทางภาคอีสานของไทย โดยหนังจะโฟกัสที่ครอบครัวหนึ่งที่เชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่เคารพบูชา และทำหน้าที่เป็นร่างทรงแบบสืบทอดกันมา แต่ปรากฏว่าพวกเขากับต้องเผชิญหน้ากับดวงวิญญาณและภูติผีที่แปลกประหลาดที่พยายามเข้ามาสิงสู่ในร่างของ มิ้งค์ หลานสาวของครอบครัว และเหตุการณ์ทั้งหมดนี้อาจจะต้องเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อของพวกเขาไปตลอดกาล

หนังใช้สูตรการเล่าเรื่องแบบ Mockumentary หรือ หนังสารคดีล้อเลียน ที่เป็นหนังที่ซ้อนสารคดีไปในตัว ถือว่าเป็นการใช้สูตรที่ค่อนข้างท้าทายพอสมควร เพราะการเล่าเรื่องด้วยวิธีนี้มีหนังหลายเรื่องนำมาใช้และตกม้าตายไปก็หลายหนแล้วเช่นกัน แต่ ร่างทรง ก็เปิดตัวมาได้ค่อนข้างน่าสนใจ ด้วยการแนะนำเป็นการถ่ายทำสารคดีที่ตามชีวิต ป้านิ่ม ร่างทรงย่าบาหยัน ที่เป็นคนสืบทอดร่างทรงนี้ในรุ่นปัจจุบัน หนังดำเนินเรื่องในช่วงแรกได้อย่างกลมกล่อมและน่าสนใจพอตัว ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าชีวิตป้านิ่มและสิ่งที่เธอทำนั้นค่อนข้างอยากให้คนใฝ่รู้

เปิดอ่านเรื่องน่ารู้: เปิด 13 ความเชื่อ พิธีกรรม ผี และสิ่งลี้ลับ จากหนังเรื่อง ร่างทรง เว็บดูหนัง

แต่นั่นก็ดูเหมือนจะเป็นข้อดีหลักๆ เพียงอย่างเดียวในหนังเรื่องนี้ที่ทำออกมา ในขณะที่หนังเดินเรื่องมาได้สัก 15-20 นาทีแรกกับโจทย์ที่ค่อนข้างน่าสนใจ ก่อนจะค่อยๆ เลอะเลือนประเด็นเบนไปอีกทางที่ไกลออกไป เมื่อหันไปโฟกัสเรื่องราวของหลานสาวที่ชื่อ มิ้งค์ กับพฤติกรรมแปลกประหลาดของเธอที่ค่อนข้างเปลี่ยนไป ที่ยังคงหยิบความหลักแนวคิดความเชื่อทางศาสนามาเป็นเส้นกั้นบางๆ โดยใช้พุทธศาสนาและคริสตศาสน เข้ามาขนานเคียงข้างไปกับความเชื่อเรื่องภูติผี

เรื่องราวของมิ้งค์ในช่วงเกริ่นแรกๆ ก็ยังพอดูได้ แต่ยิ่งเป็นหนักเข้า ก็พลอยทำให้ภาพรวมของหนังเริ่มสั่นคลอนและสะเปะสะปะรุงรังไปหมด สุดท้ายก็ยังคงหยิบเอาสูตรสำเร็จหนังผีเดิมๆ ที่จีดีเอชเคยทำมาแล้ว อีกทั้งยังไปหยิบยืมองค์ประกอบของหนังแนวๆ นี้มาใช้สร้างสมดุลให้กับหนัง หลายคนอาจจะรู้สึกว่าหนังค่อยๆ ไต่ระดับความพีคในเรื่องราวยิ่งขึ้นไป แต่กลับมองว่าหนังยิ่งเละเทะยิ่งขึ้นๆ มากกว่า

โดยเฉพาะช่วงราวๆ 20 นาทีสุดท้ายของหนัง กลายเป็นความนรกแตกที่เหมือนผัดกับข้าวในขั้นตอนท้ายๆ ที่ปรับเร่งไฟขึ้นและหยิบจับใส่เครื่องปรุงนั่นนี่ลงกระทะแบบรัวๆ จนเปลวไฟลุกฉ่า แต่ผลลัพธ์ที่พยายามจะทำให้คนดูรู้สึกตกตะลึงและหวาดผวากับตัวหนังถือว่าล้มเหลว กลับรู้สึกว่าหนังพาคนดูมาได้ไกลมาก…ไกลจนเกินไป เมื่อลองเหลียวมองหันหลังกลับไปดูจุดเริ่มต้นที่หนังได้สั่งสมเอาไว้เสียดิบดี แต่ช่วงสุดท้ายคือ…เมนูที่ดูจัดจ้านแต่รสชาติยังไม่กลมกล่อม

 

เอาจริงๆ ก็ไม่อยากจะคิดไปเองว่า หรือว่า “โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล” หมดแพชชั่นกับการทำหนังสยองขวัญที่เขาเคยทำเอาไว้ขึ้นหิ้งมาแล้วหรือเปล่า วิสัยทัศน์ต่างๆ ในหนังเรื่องนี้แทบไม่ค่อยเห็นความจัดจ้านในรูปแบบหนังผีของโต้งที่เคยสร้างสรรค์ออกมาเลย ถือว่าดีที่มีโปรดิวเซอร์เกาหลี “นาฮงจิน” มาช่วยคลุมโทนของหนังเอาไว้ได้อยู่หมัด ไม่เช่นนั้น ร่างทรง อาจจะการมีความเละเทะ ทะลุทะลวงลอยแม่น้ำโขงไปไกลได้ เว็บดูหนังฟรี

แต่กระนั้นก็ต้องยอมรับฝีไม้ลายมือของทีมนักแสดงในหนังเรื่องนี้ ที่เป็นความฉลาดของหนังที่ไม่เลือกใช้ดาราที่มีชื่อเสียงมาถ่ายทอดเรื่องนี้ การใช้นักแสดงโนเนมมาสวมบทบาทก็ทำให้คนดูรู้สึกเข้าถึงคาแรกเตอร์ต่างๆ ได้ดี ต้องปรบมือให้กับ “ญดา นริลญา” ที่แม้ว่าจะเป็นนักแสดงสาวที่เคยมีผลงานเล่นซีรีส์มาบ้างประปราย แต่มาในเรื่องนี้เจองานหินแต่เธอก็สู้ไม่หวั่นเช่นกัน คาแรกเตอร์ของเธอค่อนข้างหนักหน่วงพอสมควร ทั้งแอคติ้งเป็นคนทั่วไปก็ว่ายากแล้ว นี่ต้องมาเล่นเป็นคนไม่ปกติ และสีหน้า-แววตาทางการแสดงของเธอ ก็ถือว่าเกื้อกูลต่อตัวหนังได้ระดับหนึ่ง

แต่ดาวเด่นจริงๆ ในหนังก็คงต้องยกให้ “สวนีย์ อุทุมมา” คนนี้ไม่ต้องพูดอะไรเยอะ แม้ว่าเราจะเห็นเคยเธอรับบทตัวประกอบ-ตัวละครสมทบอยู่เรื่อยๆ แต่ฝีมือการแสดงของเธอนั้น เทียบชั้นครูได้เลย ทุกๆ ฉากที่มีเธอปรากฏตัวขึ้นมาในหนังนั้น มีพลังอย่างเหลือล้น เธอจึงกลายเป็นตัวละครที่ช่วยพยุงหนังเอาไว้ได้อย่างแท้จริง เป็นการแสดงที่ปลดปล่อยออกมาในรูปแบบน้อยแต่มาก ทั้งอินเนอร์และท่าทางออกมาเองโดยอัตโนมัติ ต้องยกให้เธอคนนี้จริงๆ

อีกองค์ประกอบหนึ่งที่คงต้องชื่นชมในหนังเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นงานออกแบบศิลป์ในฉากต่างๆ พิธีกรรมที่จัดฉากขึ้นมาดูมีมนต์ขลังในแบบที่ไม่ต้องพยายาม ทีมงานทำการบ้านในเรื่องนี้ค่อนข้างน่าพอใจ ยิ่งมาผนวกกับบรรยากาศโลเคชั่นป่าฝนริมโขง แถวพื้นที่ จ.เลย และภาคอีสานตอนบน ยิ่งเพิ่มโทนบรรยากาศของหนังให้ดูมีความเลื่อมใสอยู่ไม่น้อย

เอาเป็นว่าในภาพรวมนั้น ร่างทรง ยังไม่ใช่หนังที่สมบูรณ์แบบใดๆ การใช้สูตร Mockumentary ของหนังเกือบจะล้มเหลว ในขณะที่บทหนังก็ดูยังไม่แข็งแรงเพียงพอ หนังพยายามบิ้วท์ความกลัวและความสยองขวัญมากเกินไป เปิดเรื่องมาด้วยประเด็นที่ชัดเจนและน่าสนใจ แต่ดันเบนเข็มไปแตะต้องสูตรสำเร็จความน่ากลัวแบบเดิมๆ ที่ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกบันเทิงตามด้วยสักเท่าไหร่ จากการเปิดตัวร่างทรงแบบสวยๆ มาปิดท้ายกลายเป็นงานคนทรงที่เละเทะข้าวของกระจัดกระจายเต็มไปหมด และโดยสรุปแล้ว…ความสะพรึงของหนังก็ยังไม่ได้ดีเลิศอะไรขนาดนั้น

เรื่องย่อ: เรื่องราวการสืบทอดทายาทร่างทรง ย่าบาหยัน ของครอบครัวหนึ่งในภาคอีสานของไทย เมื่อทายาทรุ่นปัจจุบันไม่อยากรับช่วงต่อแต่ก็ไม่อาจฝืนชะตาได้ นำมาสู่เรื่องราวเขย่าขวัญคนทั้งโลก!

รีวิวหนังไทย ร่างทรง

เรื่องเกริ่นขึ้นใน ปี 2018 ทีมงานสารคดีทำข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวร่างทรงในไทย และไปพบเจ้าของเรื่องอย่าง ป้านิ่ม (เอี้ยง-สวนีย์ อุทุมมา) ที่เป็นร่างทรง ‘ย่าบาหยัน’ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่นในจังหวัดเลย ที่น่าสนใจคือย่าบาหยันจะสืบทอดกันต่อเฉพาะลูกหลานที่เป็นผู้หญิงในตระกูลของป้านิ่มเท่านั้น โดยคนที่มีแนวโน้มรับต่อในปัจจุบันมากที่สุดคือ มิ้งค์ (ญดา-นริลญา กุลมงคลเพชร) ลูกของพี่สาวป้านิ่มนั่นเอง ทำให้ทีมสารคดีขออนุญาตมาถ่ายทำป้านิ่มและครอบครัวในปี 2019 จนได้มาเจอเรื่องราวต่าง ๆ และตัดสินใจเปลี่ยนหัวข้อของสารคดีจากเรื่องว่าร่างทรงคืออะไร มาเป็นเรื่องของการสืบทอดร่างทรงแทน

เรื่องราวที่เราจะได้รับชมทั้งหมดในหนังเรื่อง “ร่างทรง” จึงมาจากสายตาของทีมงานสารคดีนี้ทั้งสิ้น หนังฟรี

นี่คือการกลับมารับงานหนังสยองขวัญครั้งล่าสุดของ โต้ง – บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับชั้นแนวหน้าในปัจจุบันของไทยจากทั้งผลงานปลุกกระแสผีไทยจาก “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” (2547) จนมาถึงสร้างประวัติศาสตร์หนังไทยพันล้านจากหนังสยองปนขำเรื่อง “พี่มากพระโขนง” (2556) ทำให้ทุกสายตาจับจ้องมาที่ตัวเขาในทุกย่างก้าว

และการก้าวรอบนี้ก็เรียกว่าเป็นบันไดก้าวแรกสู่ระดับนานาชาติของบรรจงอย่างแท้จริง เพราะเขาได้รับการทาบทามให้ร่วมงานกับผู้กำกับเกาหลีชื่อดังระดับเวทีนานาชาติอย่าง นาฮงจิน ที่เคยมีผลงานแนวสยองขวัญเรื่อง “The Wailing” (2016) ที่ได้รสชาติสยองชวนคิดที่น่าสนใจ และหนังเรื่อง “ร่างทรง” ก็ไปคว้าอันดับ 1 ในบ็อกซ์ออฟฟิศของเกาหลีมาได้ด้วยอย่างงดงามเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พร้อมคำชื่นชมในดีกรีความโหดขนหัวลุกของหนัง แน่นอนว่านี่คือความภูมิใจของคนไทยอย่างแท้จริงแล้ว โดยไม่ต้องสนใจว่าหนังจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร

รีวิวหนังไทย ร่างทรง

ถ้าจะนับว่าอะไรที่ นาฮงจิน ส่งผลด้านดีต่อหนังนอกไปจากโครงเรื่องตั้งต้นที่เดิมเขาตั้งใจไว้ทำ “The Wailing” ภาค 2 นั่นก็คือ แนวทางการสร้างฉากและบรรยากาศของหนัง ที่กลิ่นฝนชื้นในชนบทดูเยือกเย็น ชวนเร้นลับ และภาพแปลกตาของพิธีกรรมความเชื่อที่แฝงอยู่ในชีวิตของคนได้อย่างน่าทึ่ง ฉากหลังเป็นตัวละครสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ขาดไปรับรองหนังมีกร่อยลงแน่ ๆ

และต้องบอกว่าดีไซน์ของทีมงานคนไทยไม่ใช่ย่อย ๆ เลย ไม่ว่าจะฉากหุบผาที่สถิตของรูปปั้นย่าบาหยัน รวมถึงตึกร้างที่รากไม้ชอนไชเป็นทรวดทรงน่าขนลุก นี่คือ 2 ฉากเด่น ที่แค่เห็นไม่ต้องเอาดนตรีหรืออะไรเข้าช่วยก็ชวนขนลุกแล้ว พอประกอบกับดนตรีที่สร้างอารมณ์ร่วมมาก ๆ และการแสดงแบบเหมือนประทับร่างของนักแสดงสายฝีมือล้วน ๆ ทั้งตัวหลัก ตัวรอง ตัวประกอบ (เนี้ยบยันตัวประกอบนี่สำหรับหนังไทยคือคุณภาพสูงมาก) และบทหนังที่ปั่นหัวคนดูไปมา มันจึงเป็นหนังที่มีพลังสูงมาก ต้องปรบมือในการเลือกใช้นักแสดงที่เอาชื่อชั้นฝีมือเข้าว่าจริง ๆ

ครึ่งหลังของหนังเพียว ๆ จัดได้ว่า ตึงเครียด ปั่นประสาท ขนหัวลุก น่ากลัวมาก ๆ บางช่วงทำเอาคลื่นไส้มวนท้อง อาจเพราะความมืดของโรง การเคลื่อนภาพที่สมจริงสั่นไหวเหมือนอยู่ในสถานการณ์ ดนตรีที่โหมกระหน่ำ การตัดต่อที่ฉับไว ต้องยกความดีครึ่งหนึ่งให้กับการชมในโรงภาพยนตร์จริง ๆ ถ้าจอเล็กกว่านี้ มืดน้อยกว่านี้ ดนตรีไม่ดังอย่างนี้ มันคงไม่ได้ผลตามที่คนทำหนังต้องการนัก แล้วเรื่องไล่ระดับอารมณ์ได้ดีไม่มีหย่อนแบบอัดแล้วอัดเล่าใส่หัวใจคนดูตลอดครึ่งเรื่องหลัง จนอยากปรบมือให้ดัง ๆ  หนังใหม่

รีวิวหนังไทย ร่างทรง

อีกความน่าชื่นชมของหนังคือความรุนแรงของเรื่องที่กล้าท้าทายข้อห้ามจารีตสังคมไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้อย่างน่าชื่นชมในความฉลาดไม่โฉ่งฉ่าง คงเล่าไม่ได้ว่าทาบูที่โดนขยี้ย่ำนั่นเป็นอะไรบ้าง แต่เห็นความจงใจลองของตรงนี้ชัดเจน ถ้าฝีมือการเล่าด้อยกว่านี้ รับรองไม่ผ่านหน่วยงานหั่น-แบนของไทยแน่นอน (และชื่อ GDH ก็อาจเป็นเกราะช่วยประมาณหนึ่ง) และที่สำคัญอาจกลายเป็นหนังไร้รสนิยมไปได้ง่าย ๆ ทีเดียวกับการเล่นของโสมมทั้งทางสายตาและทางจิตใจแบบนี้ ขอปรบมือดัง ๆ ให้อีกรอบ

ร่างทรง
บุญส่ง นาคภู่ เป็นอีกหนึ่งคนเบื้องหลังที่มาทำเบื้องหน้าได้สุดติ่ง ละสายตาจากเขาเวลาอยู่บนจอไม่ได้จริง ๆ
อีกส่วนที่ก้ำกึ่งว่าจะดีหรือไม่ดี แต่ส่วนตัวชอบกว่าครึ่งหลังเพียว ๆ เสียอีก คือการหย่อนรายละเอียดในชีวิตของตัวละครได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องที่พี่น้องไม่เต็มใจเป็นร่างทรง จนถึงขั้นมีความพยายามหนีปัญหาด้วยวิธีที่ผิด ๆ หรือการหนีไปพึ่งพระเจ้าอีกศาสนา อะไรพวกนี้น่าสนใจมาก ๆ ถ้าเป็นหนังสารคดีจริง ๆ เราคงเห็นแง่มุมพวกนี้ประเทืองปัญญาเราได้อีกมาก แต่เมื่อมันอยู่ในหนังสยองมันเลยมีที่ทางได้จำกัด และทำให้ครึ่งแรกของหนังคาบลูกคาบดอกระหว่างความน่าสนใจกับความน่าเบื่อ เพราะมันประดิษฐ์เล่าผ่านการให้สัมภาษณ์ตัวละครต่าง ๆ อยู่มาก บทสนทนาเองก็ค่อนข้างเยอะเพื่อปูภูมิหลังและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังในช่วงที่ภาพยังเล่าเรื่องลึกซึ้งด้วยตนเองลำบาก

และการตัดต่อ อาจรวมถึงการเล่าเรื่อง แม้จะทำได้ดีมาตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็เห็นความแปลกอยู่บ้างเหมือนกันเช่น ความพยายามหลอกให้หลงทางแต่หลงไม่สุด เพราะแอบหยอดอยู่ว่าไม่ใช่นะ ทำให้พอเฉลยก็ไม่ได้รู้สึกว้าวนัก ซึ่งมีการตัดต่อที่ดูลำดับแปลก ๆ อยู่เช่นกัน จากที่ปกติควรให้คนดูตะลึงว่าเข้าใจผิด แล้วค่อยไปดูผลอีกด้าน กลับเลือกไปให้ดูผลอีกด้านที่ทำให้คนเดาออกทันทีก่อนที่จะไปตกใจกับการเฉลย ดูหนังฟรี

รีวิวหนังไทย ร่างทรง

ร่างทรง
อย่างที่กล่าวไปว่าหนังมีจุดแข็งดี ๆ มากเลยทีเดียว แต่โชคร้ายที่หนังมีเนื้องอกของมันเองอยู่

ไม่แน่ใจว่าวิธีการนำเสนอที่มาลงปลงใจกับแนวทางสารคดีนี้ใครเป็นคนต้นคิดหรือชี้ขาด ข้อดีของมันแน่ ๆ คือการสร้างสภาวะสมจริงด้วยรูปแบบที่คนคุ้นชินว่ากำลังดูความจริง ทั้งเคลื่อนกล้องถือถ่าย มีเสียงทีมงานถามคำถาม การเข้าไปปรากฏกายของทีมงานเป็นระยะ เพื่อให้ดูเรียล แต่กระนั้นก็ยังมีคำถามว่าด้วยตัวเนื้อหาและสิ่งดี ๆ มากมายที่หนังมีอยู่แล้วจำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้แนวทางสารคดีปลอมมานำเสนอ เพราะสิ่งที่ถูกทำลายแน่ ๆ คือการจดจ้องแช่ภาพหรือเน้นความสวยงามความขลังของฉากที่ถูกคิดมาอย่างดี และคนดูเองก็มีสิทธิ์ที่จะรู้สึกถูกถีบออกมาระหว่างเคลิบเคลิ้มใหลลงในหนังทันที เมื่อตระหนักได้ว่านี่มีทีมงานปลอม ๆ อยู่และทั้งหมดคือหนังสารคดีปลอม

ในช่วงแรกยังคงรู้สึกแค่ว่าวิธีการสารคดีนี้มันเป็นเนื้องอกของหนัง คือเกินจำเป็น แต่ก็ยังประคองตัวอยู่ไปได้เรื่อย ๆ จนสถานการณ์มันเดินหน้ารุนแรงขึ้น ตัวละครเริ่มอาละวาดมากขึ้น เนื้องอกนี้ก็เริ่มกลายพันธุ์เป็นเนื้อร้ายไปในที่สุด

ในช่วงแรกสารคดีปลอมทำหน้าที่แค่ตามถ่ายมีคำถามบ้างแต่ก็ยังเห็นความพยายามไม่เข้าร่วมกับตัวเจ้าเรื่อง ใช้การสื่อสารกับคนดูผ่านทางข้อความบนพื้นสีดำเป็นระยะ ที่ว่ามันก็เป็นเพียงเนื้องอก จนกระทั่งเมื่อทีมงานถ่ายติดยายตาบอดในงานศพแล้วไม่มีคำถามใด ๆ ว่านั่นคนหรือผี ไม่มีแม้ความตกใจกับฟุตล้ำค่าที่ตนเพิ่งถ่ายได้ เราจึงเริ่มตั้งคำถามกับทีมงานสารคดีในเรื่องว่า ตรงนั้นเป็นคนจริง ๆ อยู่ไหม? และเมื่อตัวละครมิ้งค์เริ่มอาละวาดใส่คนรอบข้าง ตากล้องที่ตามถ่ายใกล้มิ้งค์ที่สุดกลับกลายเป็นสุญญากาศที่มิ้งค์ข้ามผ่านไปเฉย ๆ ทั้งที่ถ้าเราเป็นมิ้งค์อยากอาละวาดใส่อะไรใส่อย่าง ตากล้องที่มาตามถ่ายตลอดเวลานี่ล่ะน่าจะโดนก่อนเพื่อน

ร่างทรง
ตอนนี้เนื้องอกเริ่มไปดันอวัยวะรอบ ๆ ให้ทำงานผิดปกติให้เห็นแล้ว และเริ่มชัดขึ้นไปอีกเมื่อมิ้งค์มีอาการป่วยในที่ทำงาน แต่นอกจากกล้องกลับไม่มีใครเลยทั้งเพื่อนร่วมงาน พี่น้อง เจ้านาย ที่จะตามไปดู สำหรับคนที่ทำงานอยู่ในชีวิตจริงคงรู้สึกประหลาดกับจักรวาลในหนัง ยิ่งการที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐเอาหลักฐานฉาวโฉ่ในที่ทำงานตัวเองมาให้คนนอกอย่างทีมงานสารคดีดูหมดเปลือกให้เสี่ยงต่อความเสื่อมเสียออกไปอีก เรายิ่งรู้สึกว่า เมืองเลยในหนัง น่าจะเป็นจังหวัดอีกมิติคู่ขนานกับเมืองเลยในไทยที่เรารู้จักแล้วล่ะ ดูหนังออนไลน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *